เรื่องปวดหัวที่ว่าก็คือเรื่อง “ปวดหัว”นี่แหล่ะ เมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วนี่ต้องเรียกได้ว่า ไม่ว่าคนไข้หรือคนตรวจก็ต้องปวดหัวเหมือนกัน ยิ่งถ้าตรวจแล้วหาปัญหาไม่เจออันนี้ก็จะเริ่ม #ปวดใจ และตรวจผิดแก้ผิดอันนี้จะเริ่ม #ปวดตับ
เป็นคำง่ายๆที่สร้างความ “ปวดหัว”ให้กับคนไข้และคนตรวจอยู่พอตัว เพราะอาการปวดหัวนั้นมันเป็นเพียง “ผลิตผล” ที่เกิดจากรากเง้าของสารพัดโรคสารพัดความผิดปกติ และบ่อยครั้งเมื่อคนไข้ปวดหัว ถ้าไปหาหมอแล้วถ้าคุณหมอบอกว่าสุขภาพตาดีไม่มีโรค หมอต้องให้ไป “วัดแว่น” เป็นสูตรสำเร็จ
เนื่องจากอาการปวดหัวมันเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ แต่ก็แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆคือ "#เกี่ยวกับตาและไม่เกี่ยวกับตา" ที่เกี่ยวกับตา เช่นเกิดจากปัญหายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง สายตาคนแก่ หรือปัญหากล้ามเนื้อตาเช่น ตาเหล่ซ่อนเร้น หรือปัญหาเกี่ยวกับเลนส์ตา เป็นต้น ที่ไม่เกี่ยวกับตา แต่เกี่ยวกับโรคเช่นเนื้องอก (เนื้องอกจริงๆ ไม่ใ่ช่สั่งก๋วยเตี๋ยว เพราะเดี๋ยวจะมี เล็กเนื้อเปื่อยไม่งอก..เดี๋ยวจะยุ่งจ้า) ,#เส้นเลือดโป่งพอง(aneurysms), #โรคทางเส้นเลือด(vascular diseases) ,#ติดเชื้อในกระแสเลือด (systemic infections)
ดังนั้นนักทัศนมาตร ในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องสายตากับการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อตา และมีเครื่องมือสำหรับตรวจและวินิจฉัยและสามารถใช้งานเครื่องเหล่านั้นได้ จึงเป็นเป้าหมายให้คนไข้แวะไปเยี่ยมเยียนกันบ้างมากน้อยตามโอกาส เราจึงต้องเตรียมทำการบ้านล่วงหน้า ไม่ต้องรอให้งานมาแล้วมาเปิดตำรา
ดังนั้น ผมเปิด topic ใหม่แล้วกันเรื่องปวดหัว ไล่กันไปทีละหัวข้อ จะได้ไม่หนักมาก จบเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น (topic เก่ายังไม่จบใหม่มาอีกแล้ว)
เป็นอาวุธสำคัญที่จะรับมือกับคนไข้ที่มาด้วยอาการปวดหัว ดังนั้นการตั้งคำถามเพื่อรีดเอาคำตอบมาวิเคราะห์จึงมีความสำคัญอย่างมาก และมีหมอตาคอหูจมูก ชื่อ Ryan เขาได้ทำไว้แล้วตั้งแต่ปี 1954 และเป็นมาตรฐานในตำราเรียนทัศนมาตร ซึ่งประกอบไปด้วยกฎ “FOLDARQ”
F=Frequency “ปวดบ่อยแค่ไหน” เช่น ทั้งวัน บางวัน อาทิตย์ละ3 วัน เดือนละครั้ง หรือปีละครั้ง(จำแม่น)
O:timeOnSet “มักเป็นเวลาไหน” เช้า/สาย/บ่าย/เย็น
L: location : ตำแหน่งที่ปวดบริเวณไหน” เช่นเบ้าตา เหนือคิ้ว ในลูกตา ขมับ หน้าฝาก ท้ายทอย ต้นคอ เป็นต้น
D=Description “ไหนลองเล่าให้ฟังสิ ว่ามันปวดยังไง”
D:Duration ปวดแต่ละครั้งนานแค่ไหนกว่าจะหาย” เช่น ครึ่งชั่วโมง หนึ่งชั่วโมง ทั้งวัน ข้ามวัน ทั้งอาทิตย์ เป็นปี(ก็ว่ากันไป)
A:Association : ก่อนที่จะรู้สึกปวด กำลังทำอะไรอยู่ เช่น อ่านหนังสือ ทำคอมพ์ ขับรถ ตอนเครื่องขึ้น ดูyoulike หรือไม่ทันได้ทำอะไรก็ปวด ตื่นมาปวดเลย เป็นต้น
R: Relief : อะไรที่ทำให้อาการหายหรือบรรเท่า เช่น ทาถูด้วยยาหม่องตราลิงถือลูกท้อ สูดดมด้วยยาดมตราโป้ยเซียน กินพารา(แคป แผงสีเขียว) หรือนอน
Q=Quality “ปวดแค่ไหน 0 คือไม่ปวด 10 คือทนไม่ไหว ลองให้คะแนนมา” เช่นปวดรำคาญ 3/10 ปวดชักดิ้นชักงอ 9/10
คำถามพ่วงอื่นๆเช่น
ดังนั้น หากคนไข้ท่านไหนมีปัญหาปวดหัว อยากปรึกษา ถ้าสามารถเตรียมข้อมูลตามข้างต้นได้ก็จะดีมากๆ เพราะจะวินิจฉัยได้เร็วขึ้น
อาการปวดเมื่อยดวงตา หรือเครียดบริเวณรอบดวงตา(eyestrain) นั้นมักเกิดจากการใช้สายตาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดังนั้นถ้าอาการปวดหัวที่เกิดจาก eyestrain มักจะเกิดหลังจากใช้สายตามาอย่างหนัก และมักเกิดขึ้นในช่วงบ่ายๆ เย็นๆ คือค่ำๆ แต่ก็มีรายงานจากคุณ Drews (1954) เขาศึกษาและพบว่า อาการปวดหัวจาก eyetrain นั้นสามารถเกิดขึ้นในตอนเช้าก็ได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากมันปวดลามข้ามวันมาจากเมื่อวานที่ใช้สายตามาอย่างหนัก เขาเรียกอาการนี้ว่า “eyestrain hang-over”
#คนไข้ที่มาด้วยอาการปวดหัวที่มาวัดแว่น
ส่วนมากจะปวดมาประมาณสัปดาห์หรือหลักเดือน แต่จะไม่มีประเภทที่ปวดทนมาเป็นปีๆ เพราะเวลาคนไข้เขาเริ่มปวดหัว อันดับแรกเขาจะต้องใช้หลัก “ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน” หาความผิดปกติเองเลย สังเกตตัวเอง บางทีก็กินยา หรือหาทางอะไรบางอย่าง แต่ถ้าหาไม่เจอก็จะคิดถึงเรื่องสายตา แล้วก็จะหาที่วัดแว่น บางคนปวดตอนเปลี่ยนงานจากงานเซลล์ที่ขับรถ ไปเป็นงานที่ต้องเฝ้าหน้าจอทั้งวันก็ปวดได้เช่นกัน
ลักษณะของอาการปวดหัวจาก eyestrain ก็จะมีตั้งแต่ปวดกลางๆ ไปจนถึงแบบ มึนๆ ตื้อๆ ไม่สดใส คิดอะไรไม่ออก ทื่อๆ เบื่อๆ แสบๆตา และมักจะบวดบริเวณเหนือคิ้วหรือรอบๆดวงตา หรือปวดลึกๆเข้าไปลูกตา แต่ถ้าแบบใช้งานลูกตาอย่างหนัก กล้ามเนื้อตาล้ามากๆ ก็จะเริ่มปวดลามไปที่ต้นคอ หรือลงไปที่ท้ายทอย (occipital lobe) และหลังกะโหลก
ซึ่งการจะวินิจฉัย ทำไมถึงปวดเครียดลูกตานั้นก็ต้องไปดูว่ามีปัญหาสายตาไหม มีปัญหาเลนส์ตาไหม มีปัญหากล้ามเนื้อตาไหม ซึ่งอันนี้เป็นเครื่องคลินิกแล้ว แต่บทความอันนี้ให้พอรู้จักกับปัญหาปวดหัวก่อน
เป็นปัญหากับนักทัศนมาตรเหมืนกันในการทำนายเวลาคนไข้ไม่เคยใส่แว่นมาก่อนแล้วมาด้วยอาการปวดหัว และถามว่า “ใส่แว่นแล้วจะหายไหม” เพราะว่าคนไข้บางคน สายตายาวสัก +0.50D พอได้ใส่แว่นอาการปวดหัวก็หาย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่มีปัญหาสายตา +0.50D จะมีความจำเป็นต้องใส่แว่นแว่นเสมอไป
มีงานศึกษาที่น่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งศึกษาโดยนาย Malcolm Cholerton ซึ่งเป็นนักทัศนมาตร์ชาวนิวซีแลนด์ ได้ทำการศึกษาเรื่อง “placebo effect” ภาษาบ้านเราเขาเรียกว่า “มโนไปเอง” โดยให้คนไข้ที่มีปัญหา eyestrain นั้นใช้แว่นที่ไม่มีค่าสายตา(แต่ไม่บอกให้คนไข้รู้) ปรากฏว่าคนส่วนใหญ่ บอกว่าอาการปวดเมื่อยตาลดลง แต่พอผ่านไปสักเดือน อาการเก่าก็เริ่มกลับมาเป็นอีก
ดังนั้นในการจะจ่ายหรือไม่จ่ายเลนส์นั้น ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของหมอที่ทำการตรวจ ที่ต้องพิจารณาหลายๆปัจจัย เช่น
อยากให้จำอะไรรู้ไหม>>> FOLDDARQ พี่ๆร้านแว่นตาสามารถนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนไข้ของท่าน จำเป็นคำว่า "โฟลด์ดาร์ก" ก็้ได้ ครบตัวพอดี ส่วนนร.ทัศนมาตร์ คงไม่ต้องสอนแล้ว เพราะพื้นฐานพวกนี้ครูบังคับออกสอบ จำเป็นต้องจำได้ แต่ที่ยากกว่าคือการเอาไปวิเคราะห์นี่แหล่ะ
ขอบคุณสำหรับการติดตามครับ
ดร.ลอฟท์