เลนส์โปรเกรสซีฟนั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้กับคนไข้ที่มีปัญหาสายตาผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องกำลังเพ่งขณะดูใกล้ที่ลดลงไปตามวัย ดังนั้น ส่วนใหญ่เราจึงมักจะจ่ายเลนส์โปรเกรสซีฟเฉพาะในผู้สูงอายุ เราก็เลยมักจะเข้าใจว่าเลนส์โปรเกรสซีฟนั้นมีไว้แก้ไขปัญหาให้กับคนแก่เท่านั้น แต่ความจริงแล้วเราสามารถใช้คุณสมบัติของโปรเกรสซีฟแก้ไขปัญหาตาเหล่เข้าซ่อนเร้นที่เกิดจากการเพ่ง (Accommodative esophoria) ที่เกิดกับเด็กหรือคนที่อายุน้อยกว่า 40 ปีได้เช่นกัน
ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจความสัมพันธ์การทำงานระหว่างเลนส์แก้วตากับกล้ามเนื้อตาแล้ว เป็นระบบที่คิดแยกกันไม่ได้ เราก็จะสามารถใช้เลนส์โปรเกรสซีฟแก้ปัญหาตาเหล่เข้าแบบซ่อนเร้นขณะดูใกล้ในเด็กได้ วันนี้ผมจึงอยากจะนำเคสตัวอย่างเคสหนึ่งที่คนไข้มีปัญหาเหล่เข้าแบบซ่อนเร้นที่เกิดจากการเพ่่งของเลนส์ตา ซึ่งเคสนี้เข้ามาหาผมเมื่อ 2 ปีที่แล้ว และกลับมาอีกครั้งเพื่อทำแว่นใหม่ และผมได้เจอเรื่องราวที่น่าสนใจหลายเรื่องที่จะมาเล่าให้ฟัง
คนไข้หญิง อายุ 24 ปี มาด้วยอาการ แว่นเก่ามองไกลไม่ชัด อยากจะมาทำแว่นใหม่ เริ่มใช้แว่นครั้งแรกตอนอายุประมาณ 15 ปี แว่นปัจจุบัน (ขณะนั้น) ใช้งานมา 2 ปี เห็นไม่ค่อยชัดแล้ว ไม่มีปัญหาสุขภาพร่างกาย ไม่มีภูมิแพ้ แต่ปวดศีรษะบางครั้งเวลาทำงานแต่ไม่มากนัก Grade 2/10 คนไข้ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ทั้งวัน
ความคมชัด (ตาเปล่า) ที่ 6 เมตร
OD 20/400 , pinhole 20/40
OS 20/400 , pinhole 20/40
ความคมชัด (แว่นเดิม)
OD 20/100 w/ sph -1.25D (แว่นเดิม)
OS 20/70 w/ sph -1.25 D (แว่นเดิม)
Cover test : Ortho , Esophoria' (Point : มองไกลไม่มีเหล่ซ่อนเร้น, มองใกล้มีเหล่เข้าแบบซ่อนเร้น)
Retinoscopy
OD -3.25 VA 20/20
OS -2.50 VA 20/20
Subjective refraction
OD -2.50 VA 20/20+2
OS -2.00. VA 20/20+2
Distant Phoria
6 BO esophoria w/ VonGrafe's Technique
4 BO esophoria w/ Associate phoria
Distant reserve
BI-reserve : x/6/0
BO-reserve : 12/26/10
Near Phoria
12 BO esophoria
Near reserve
BI-reserve : 6 / 8 /18
BO-reserve : 24/ not break
AC/A ratio : 10 :1 (high AC/A)
BCC : +0.50
NRA : +2.50 (base on BVA)
PRA : -3.75 (Base on BVA)
ค่าสายตาจ่ายจริง (Final prescription)
OD : -2.50 w/ 2 prism base out
OS : -2.00 w/ 2 prism base out
Add +1.00D
1. Simple myopia : สาตามองไกลคนไข้เป็นสายตาสั้นธรรมดา ไม่มีเอียง
2. Basic esophoria : มีเหล่เข้าแบบซ่อนเร้น ทั้งมองไกลและมองใกล้
3. Accommodative esophoria : ตาเหล่เข้าที่เพิ่มขึ้นขณะที่ดูใกล้เกิดจากผลของ Accommodation ของเลนส์ตา เนื่องจากคนไข้เป็น High AC/A
1. Full Correction และ Prism base out เพื่อแก้ Esophoria ขณะมองไกล
OD : -2.50 w/ 2 prism base out
OS : -2.00 w/ 2 prism base out
2.Plus addition
จ่าย Addition +1.00 เพื่อลด Esophoria ขณะดูใกล้
NRA หรือ ค่า Negative Relative of Accommodation มีหลักในการตรวจ คือ "Plus to blur" เราทำโดยให้คนไข้ Fixed target ไว้ที่ตัวหนังสือ 20/25 ที่ระยะ 40 ซม.และเพิ่มบวกขึ้นไปเรื่อยๆ จนคนไข้เริ่มมัว ถ้าพูดไม่คิดอะไรเราก็จะเรียกว่า เป็นค่าความสามารถในการคลาย Accommodation ว่ามีความสามารถในการคลายอยู่เท่าไหร่ แต่เราก็จะตะหงิดในใจว่า “ค่าความสามารถในการคลาย Accom” คืออะไร รู้แล้วมีประโยชน์อย่างไร หรือการคลายต้องเรียกว่าความสามารถด้วยหรือ
ดังนั้น NRA ต้องมองลึกไปกว่านั้น ซึ่งพิจารณาได้ 2 แรง คือ ดูแรงว่าที่ตำแหน่ง BCC นั้นมีการ Accommodation อยู่เท่าไหร่ กับ อีกแรงคือ แรง Positive fusional vergene ซึ่งเราต้องไม่ลืมว่า Accommmodation กับ Convergence นั้นเป็นระบบที่แยกจากกันไม่ได้ เมื่อมี Accommodation จะมีการ Convergence และเมื่อมีการ Relax accommodation ก็จะมีการ Relax convergence (Diverge) ด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ในการทำ NRA ด้วยการคลาย Accom ด้วยเลนส์บวก จะเกิดการ Diverge ของตา แต่ในสถานการณ์ที่บังคับให้ตา Fix target จึงทำให้ตาต้องออกแรงเหลือบเข้าเพื่อรวมภาพ (Positive fusional vergence , PFV) เข้าไปช่วย ดังนั้น ถ้าแรง PFV มีมาก ก็จะสามารถช่วยไปเรื่อยๆจนกระทั่ง Accommodation หมด ซึ่งคนไข้จะบอกเราว่ามัว ซึ่งคนปกติค่า NRA จะเฉลี่ยอยู่ที่ +2.00D (+/- 0.25) (Base on BVA)
ถ้า NRA > +2.50 D แสดงว่า ค่าสายตามองไกลที่วัดได้นั้นเกินจริง (Over minus) เนื่องจาก Demand ที่ 40 ซม. นั้นจะกระตุ้นให้เลนส์ตาออกแรงไม่เกิน +2.50D (หรือต่ำกว่า) แต่ถ้าวัดได้มากกว่า +2.50D แสดงว่า Accommodation ทำงานหนักกว่า Demand ซึ่งแสดงว่า สายตามองไกลที่เราจ่ายให้คนไข้นั้นเกินความต้องการที่แท้จริง ทำให้เลนส์ตาต้องออกแรงเพิ่มเพื่อ Compensate
ถ้า NRA < +1.50 D แสดงว่า คนไข้มีแรง Positive fusional vergence ต่ำกว่าเกณฑ์ หมายความว่า แรงในการเหลือบตาเข้า หรือ Convergence มีแรงไม่ค่อยดี
PRA : หรือ ค่า Positive Relative of Accommodation มีหลักการตรวจ คือ “Minus to blur” โดยให้คนไข้มองตัวหนังสือแถว 20/25 ที่ 40 ซม. แล้วเพิ่มลบ (ลดบวก) ไปเรื่อยๆจนกระทั่ง คนไข้เริ่มบอกว่ามัว เราจะ Force ให้คนไข้พยายามเพ่งอ่านต่อ จนกระทั่งคนไข้อ่านไม่ได้แล้ว เราก็จะบันทึกค่า PRA ออกมาเป็นเครื่องหมาย -
PRA เป็นการทดสอบกำลังเพ่งต่อเนื่องจากตำแหน่ง BVA (ในเด็ก) หรือ จากตำแหน่ง BCC (ในคนแก่) และประเมินแรง Negative fusional vergence และกำลังของเลนส์ตา ( Amplitude of accommodation, AA )
ที่ตำแหน่ง BVA หรือ BCC คนไข้จะต้องออกแรง Accommodation อยู่ค่าหนึ่งอยู่แล้ว (ซึ่งถ้าวัดสายตาถูกต้องขณะที่คนไข้อ่านชาร์ตที่ 40 ซม. เลนส์ตาจะออกแรง <+2.50) แต่เราต้องการรู้ว่า ถ้าเรากระตุ้นให้เพ่งต่อเนื่องต่อไปอีก เราจะสามารถกระตุ้นเพิ่มได้อีกเท่าไหร่ นั่นก็คือ ค่าที่วัดได้จากการทำ PRA
เนื่องจาก Accommmodation กับ Convergence นั้น เป็นระบบที่แยกจากกันไม่ได้ เมื่อมี Accommodation จะมีการ Convergence และเมื่อมีการ Relax accommodation ก็จะมีการ Relax convergence (Diverge) ด้วยเช่นกัน อย่างที่พูดไปข้างต้น
ดังนั้น เมื่อเรากระตุ้นให้เลนส์ตาเกิดการเพ่งด้วยการเพิ่มกำลังเลนส์ลบ เลนส์ตาที่เพ่งจะไปกระตุ้นให้เกิดการ Convergence แต่เนื่องจากขณะที่เราทำการตรวจ เราให้คนไข้ Fix target ดังนั้น ระบบต้องดึงลูกตากลับ ซึ่งแรงนี้เรียกว่าแรง Negative fusional vergence
ดังนั้น ถ้า PRA ยิ่งสูงมาก แสดงว่า Amplitude และ Negative fusional vergence ของคนไข้นั้นสูง
ถ้า PRA ต่ำ แสดงว่า Amplitude และ Negative fusional vergence ของคนไข้นั้นต่ำด้วยเช่นกัน
คนไข้คนนี้ มีค่า AC/A ratio สูงถึง 10 : 1 และมี Esophoria มองไกลสูงถึง 6 BO (บน BVA) และการที่มี High AC/A ขนาดนี้ นั่นหมายความว่า หากเราเกิด Over minus (จ่ายสั้นเกินจริง) แม้เล็กน้อย ยิ่งจะทำให้มองไกลนั้น เขายิ่งมี Eso หนักขึ้นไปอีก
ดังนั้น เคสนี้พิจารณาจ่าย Prism มองไกลไป เพื่อช่วยแก้ Eso บางส่วน และ มองใกล้นั้นผมเลือกใช้การแก้ Esophoria โดยจ่ายค่า Addition ให้ +1.25D เพื่อลดการเพ่ง และการเพ่งที่ลดลง จะทำให้ Esophoria ลดลงตามไปด้วย
มองใกล้นั้น สำหรับเคสนี้ มีสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณา ได้แก่ Esophoria@near ที่สูงถึง 12 Prism แต่ที่โชคดีคือคนไข้มีค่า AC/A ที่สูงมาก ทำให้เราสามารถนำไปแก้เหล่เข้าซ่อนเร้นโดยการจ่ายค่า addition
AC/A ratio 10:1 บอกเราว่า ถ้าเราสามารถลด Accommodate ได้ 1.00D จะทำให้ลด Accommodative convergence ลดลงมากถึง 10 Prism diopter
ดังนั้น เมื่อผม Add plus ไป 1.00 D จึงทำให้ Eso@near ของคนไข้นั้นลดลงไป 10 Eso และยังคงเหลืออยู่ 2 Eso แต่เนื่องจากผมจ่ายปริซึม Base out มองไกลไป 4 Prism (ซึ่งใกล้ก็จะได้อานิสงค์จากการจ่ายปริซึมมองไกลด้วย) ดังนั้น จากเดิม 12 Prism Eso จ่ายไป 4 คงเหลืออยู่ 8 Eso และเมื่อเราลดกำลังเพ่งของเลนส์ลงไป 1.00D ก็จะทำให้ลด Eso ได้อีก 10 สุดท้าย คนไข้จะกลายเป็น 2 Prism Exophoria แต่ BO-reserve ของคนไข้มีมากพออยู่แล้ว จึงไม่มีอะไรที่ต้องกังวล
ผมสันนิษฐาน แว่นเก่านั้น Under corrected (สั้นน้อยกว่าค่าสายตาจริงอยู่มาก) แม้จะมองไกลไม่ชัด แต่คนไข้ก็ชินที่ใช้ชีิวิตแบบไม่ชัด และนึกว่าความไม่ชัดที่เกิดขึ้นนั้น คนอื่นเขาก็เป็นเหมือนๆกัน และเมื่อทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ แว่นที่ Under อยู่ทำหน้าที่ Add plus ไปในตัว จึงลด Eso ได้โดยบังเอิญ และในเคส High AC/A ลักษณะนี้ การถอดแว่นทำงาน ซึ่งทำให้ Accommodation คลายตัวทั้งหมด จะทำให้กลายเป็น High Exophoria แทน
หลังจากจ่ายและติดตามผลคนไข้ปรับตัวกับการใช้ชีวิตกับเลนส์โปรเกรสซีฟได้ดีและกลับมาอีกครั้งเมื่อ 1 เดือนที่แล้ว (2017) ด้วยอาการ แว่นเก่าเริ่มไม่ชัด ผมเลือกตรวจเฉพาะจุดที่สงสัย
OD : -3.25 -0.25x93
OS : -3.00
Phoria : 5 BO Esophoria with VonGrafe technique
BI-reserve : x /6 /0
Phoria : 3 BO Esophoria by VonGrafe technique
AC/A : 5:1*** เราเคยเชื่อว่าค่่า AC/A ratio เป็นค่าคงที่ แต่สำหรับเคสนี้ไม่ใช่ เพราะ AC/A มีการปรับตัวเข้ามาสู่สมดุลได้
BCC : +0.75 (norm)
1. Full Correction
OD : -3.25 -0.25x93 w/ 1.5 BO
OS : -3.00 w/ 1.5 BO
Add +0.75
มีเรื่องเซอร์ไพรซ์อยู่ 2 เรื่อง ที่ผมเองก็ไม่อยากเชื่อ ถ้าครั้งแรกไม่ได้ตรวจเองก็จะต้องบอกว่า ผลการตรวจครั้งแรกนั้นเชื่อไม่ได้ แต่ที่มั่นใจเพราะผมทำซ้ำหลายครั้ง และ ทำ Confirmation test หลายเทสก็ได้ผลตามนั้นและสิ่งที่เซอไพรซ์ คือ
ดังนั้น รูปแบบในการจ่ายเลนส์ครั้งนี้ ผมคง prism มองไกลไว้เท่าเดิม แต่ลด Addition ลงเป็น 0.75D ดังนั้น Final Rx ที่ผมแก้ให้น้อง คือ
OD : -3.25 -0.25x93 w/ 1.5 BO
OS : -3.00 w/ 1.5 BO
Add +0.75
สำหรับเรื่อง AC/A ratio ผมได้เขียนอย่างละเอียดซึ่งตามไปดูได้ในลิ้งค์ด้านล่างที่แนบมา
http://www.loftoptometry.com/AC/A ratio
ในเคสนี้ เราจะได้จุดที่น่าสังเกตหลายๆ อย่างครับ ตั้งแต่ Cover test โดยให้คนไข้ใส่แว่นเดิมแล้วเห็นตามี Esophoria ที่ใกล้อยู่บ้าง แต่วัดเมื่อให้มองไกลไม่ค่อยเห็น เนื่องจากแว่นที่ใช้อยู่นั้น ค่าสายตา Under corrected อยู่มาก ทำให้คนไข้ไม่มีอาการปวดหัว แต่ก็มีปัญหาคือมองไกลไม่ชัด แต่ถ้าเรา Full corrected ค่าสายตาให้มองไกลชัดปกติ เราจะเห็น Phoria ตามความเป็นจริง ซึ่งค่าที่ตรวจพบเมื่อ 2 ปีก่อนนั้น มี Esophoria หนักมาก ทั้งมองไกลและดูใกล้ แต่ก็ยังมีความโชคดีอยู่บ้างที่คนไข้มี High AC/A ทำให้มองไกลนั้นเราใช้ปริซึมช่วยลด Phoria และ จ่ายเป็นเลนส์โปรเกรสซีฟ add +1.00 เพื่อลด Esophoria ใกล้
สองปีต่อมา มาตรวจด้วยอาการมองไกลเริ่มมัว พบว่าสายตาสั้นเพ่ิมขึ้น แต่ข่าวดีก็ คือ แม้ว่าเหล่เข้าซ่อนเร้นขณะมองไกลนั้นยังคงที่ แต่เหล่เข้าซ่อนเร้นที่ระยะใกล้นั้นลดลงจากเดิมมาก และ ค่า AC/A ก็ลดลงมาจนเป็นค่าปกติ ซึ่งความเชื่อเดิมเราเคยเชื่อว่ามันเป็นค่าคงที่ จนกว่าจะเป็น Presbyopia แต่เคสนี้ทำให้เราเห็นว่า การแก้ไขปัญหาสายตาที่ถูกต้อง แก้ปัญหากล้ามเนื้อตาที่เหมาะสม สามารถทำให้ระบบสมดุลของกล้ามเนื้อตากลับมาทำงานได้ดีขึ้นได้
ฝากไว้
สิ่งที่อยากจะฝากไว้สำหรับน้องๆที่กำลังเรียนหรือทำงานทางด้านทัศนมาตร หรือช่างแว่นตา หรือเพื่อนๆร่วมวิชาชีพ ก็คือว่า อาชีพที่ได้ดูแลสายตาและระบบการมองเห็นของคนไข้นั้นเป็นอาชีพที่มีเกียรติ ขอจงรักษาเกียรติแห่งวิชาชีพไว้ โดยทำสิ่งที่จำเป็นต้องทำ โดยไม่ละเว้นด้วยคิดเอาเองว่าคนไข้คงไม่ปัญหาซ่อนอยู่ แต่ต้อง Find out ให้เจอปัญหาที่แท้จริง และ Rule out ปัญหาที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งบางปัญหาคนไข้ก็ไม่รู้ตัว และทนใช้ชีวิตเอา เพียงเพราะคิดว่าไม่เกี่ยวกับแว่น หรือเพราะคิดว่าเรื่องนี้เกินความสามารถของผู้ตรวจ แต่เราต้องทำให้คนไข้ได้เข้าใจถึง Role ของทัศนมาตรที่แท้จริง อย่าละเลยที่จะมองข้ามเรื่องฟังก์ชั่น เพียงเพราะว่ามันไม่ทำเงิน หรืออ้างว่าไม่มีเวลา หรืออะไรก็แล้วแต่ เมื่อเราทำกันเยอะขึ้น ทุกคนจะลุกขึ้นมาทำ คนทั่วไปก็จะได้รับบริการจากทัศนมาตร ที่เป็นทัศนมาตรจริงๆ วิชาชีพจะงดงาม และยั่งยืนต่อไป
สวัสดีครับ
ขอบคุณทุกท่านสำหรับการติดตาม
ดร.ลอฟท์
578 wacharapol rd. bangkhen,bkk ,10220
call : 090-553-6554
ID line: loftoptometry