สวัสดีครับ วันนี้แวะมา review case กันสักหน่อย เป็นเคสของ ว่าที่คุณหมอหนุ่มน้อย ปี 3 วัย 21 ปี คุณพ่อพามาด้วยอาการแว่นเก่าไม่ค่อยชัด เริ่มใช้แว่นครั้งแรกตอน 12 ขวบ แว่นปัจจุบันใช้มา 3 ปี สุขภาพแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ใช้สายตาอ่านหนังสือเยอะมากในแต่ละวัน
PD : 30.5/31
VA sc : OD 20/400 ,OD 20/400
OD -4.50 -1.00x180 ,VA 20/25
OS -3.50 -1.00x180 ,VA 20/20
OD -4.00 -2.00x13 ,VA 20/20
OS -3.62 -1.00x153 ,VA 20/20
OD -3.75 -2.00x13 ,VA 20/20
OS -3.50 -1.00x160 ,VA 20/20
OD -3.62 -1.62x13 VA 20/15
OS -3.25 -1.00x160 VA 20/15
FFA 5 ,PTA 8 ,CVD 13
ปัญหาสายตาสำหรับเคสนี้ มองไกลมีปัญหาสายตาสั้นและเอียงแบบ compound myopic astigmatism (ศึกษาปัญหาสายตาเพิ่มเติมได้ที่ลิ้ง http://www.loftoptometry.com/สายตาเอียง ) ส่วนความยากของสายตานั้น ไม่ถือว่าหายากมากนัก แต่มีจุดน่าสนใจคือตาขวาว่าค่าที่ได้จากการทำ retinoscope ของตาข้างขวานั้น ได้ค่าสายตา สั้นที่เกินสายตาจริง ที่จากค่าสายตาสุดท้ายของการตรวจแบบ subjective refraction พอสมควร แต่ค่าสายตาเอียงนั้นกลับเพิ่มสวนทางกับสายตาสั้นที่ลดลง อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผมสันนิษฐานว่า
แสงไฟจาก retinoscope ที่ส่องเข้าไปนั้น เราอาจจะไป nutralized เอาตำแหน่งของ spherical equivalent ของค่าสายตา จึงทำให้ได้ค่าสายตาสั้นที่มากเกินจริงและค่าสายตาเอียงก็ลดลง ซึ่งเมื่อเอาค่าดังกล่าวให้คนไข้อ่าน VA chart แล้วก็สามารถอ่านได้ 20/20 เท่ากับคนปกติ แต่พอไล่หาจริงแล้ว พบว่าสายตาสั้นลดลงถึง -0.75DS และสายตาเอียงก็คายออกมาอีก -0.62DC เช่นกัน ในขณะที่ VA นั้นอยู่ที่ 20/15 คมชัดกว่า อ่านได้มากขึ้น เงาซ้อนน้อยลง ดังนั้นสิ่งที่ต้องคิดต่อก็คือ ไม่ใช่ว่า วัดสายตาได้ 20/20 แล้วเราจะต้องหยุดกระบวนการ เพราะที่ตำแหน่งค่าสายตาตรงนั้น อาจจะยังสามารถรีดค้นหาจุดที่ดีที่สุดได้อีก
Sphericla Equivalent , SE หรือ best sphere คือกำลังหักเหของเลนส์ sphere ที่ไปทำให้โฟกัสที่เกิดจากเลนส์ sphere นั้นไปตกลงบนตำแหน่งของ circle of least confusion ของคนสายตาเอียง พูดอีกนัยหนึ่งก็คือ Spherical Equivalent นั้นเราใช้ในเทอมของสายตาเอียงเท่านั้น และจะใช้เมื่อเราไม่ต้องการแก้ด้วย cylinder lens แต่จะแก้ด้วย spheric lens แทน แล้วจะใช้กำลัง sphere เท่าไหร่ ที่จะทำให้คนที่มีสายตาเอียงนั้นเห็นได้ดีที่สุด
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุด เช่น เราสายตาสั้น -1.00 -0.50x180 ถ้าเราไม่ใส่ contact lens ที่มีสายตาเอียง เราจะใช้เบอร์คอนแทคเลนส์สั้น -1.25D โดยไม่มีสายตาเอียง ก็จะให้ค่าความชัดที่ใกล้เคียงกับแว่นตาที่ full correction
คนสายตาเอียงนั้น จะมีโฟกัสที่เกิดจากการหักเหของกระจกตาและเลนส์ตาเป็นลักษณะเส้น (focal line) แทนที่จะเป็นจุด (focal point) อย่างคนสายตาปกติทั่วไป เช่นคนสายตาสั้น+เอียง ทำให้โฟกัสเกิดเป็น 2 แนว โดยโฟกัสแนวหนึ่งตกก่อน อีกโฟกัสอีกแนวหนึ่งตกหลัง แต่สายตาเอียงนี้จะมีโฟกัสที่ดูกลม (curcle) ที่เป็นจุดที่ชัดที่สุด อยู่ระหว่างโฟกัสของสายตาเอียงทั้งสองนั้น ซึ่งตำแหน่งนั้นเราเรียกว่าตำแหน่งของ circle of least confusion ซึ่งก็คือตำแหน่งของ spherical equivalent นั่นเอง ดูรูปล่างประกอบ
สมมติคนไข้สายตา +0.50 DS และมีสายตาเอียงอยู่ -1.00 DC จะมีค่า spherical equivalent 0.00 พอดีและสามารถอ่านตัวหนังสือได้ 20/20 เหมือนคนปกติ อ่านได้เท่ากับคนปกติ แต่ความจริงแล้วคนนี้สายตาไม่ปกติ และเมื่อเรากวาด retinoscope แล้วไม่ทำการ fongging ที่ดีพอ ก็จะทำให้เลนส์ตานั้นเกิดการ accommodate เพื่อให้โฟกัสตกบนจุดรับภาพที่ตำแหน่งที่ดีที่สุดของภาพ คือ spherical equivalent ทำให้เราเข้าใจผิดได้ว่า เป็นตำแหน่งของ จุด nutral point แล้วไปทึกทักเองว่าคนไข้ไม่มีสายตาเป็นต้น ซึ่งต้องระมัดระวัง
**หมายเหตุ DS = Dioptor Sphere ,DC = Diopter Cylinder
ดังนั้น spherical equivalent เป็นจุดที่ต้องระมัดระวังในคนไข้ที่ีสายตาเอียงร่วมอยู่ด้วย เนื่องจากว่าจะเป็นจุดที่ทำให้เราเกิดอาการเขวว่า ที่ตำแหน่งชัดของ spherical equivalent นี้ เป็นค่าสายตาที่ถูกต้อง เพราะสามารถอ่าน 20/20 ได้เหมือนคนสายตาปกติ
*** เน้นย้ำกันอีกทีว่า การอ่านได้ 20/20 ไม่ได้หมายความว่าสายตาเราถูกต้องเสมอไป พูดอีกนัยหนึ่งคือ แว่นที่ชัดไม่ได้หมายความว่าเป็นแว่นมีค่าสายตาถูกต้องเสมอไปเช่นกัน 20/20 นั้นบอกเราแค่เพียงว่า เรามองไกลเห็นเท่ากับคนสายตาปกติ และการตรวจสายตาไม่ใช่เพียงแค่จะเอาเรื่อง visual acuity แต่ต้องดู visual function ด้วย คือการทำงานร่วมกันของกล้ามเนื้อตา เลนส์แก้วตา ทั้งสองตาพร้อมกันด้วย เพื่อให้เกิด visual perception ที่ดีที่สุด
ด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง โดยตนเองให้เพื่อนที่เป็นทัศนมาตรตรวจ พูดได้เต็มปากว่า 0.12 D นั้นเป็นความคมชัดที่สามารถจับต้องได้ในทางคลินิก สายตาที่ผิดไป 0.12 D นั้นเราสามารถรู้สึกได้ทั้งในส่วนของสายตาสั้น และสายตาเอียง และสายตาเอียงของผมแม้ปริมาณไม่มาก ก็สามารถรับรู้ถึงความคมชัดที่เปลี่ยนไปแม้องศาเอียงจะเคลื่อนไปเพียง 2 องศา
เรื่องนี้กำลังจะบอกว่า เป็นเรื่องที่น่ากลัวมากกับ การปัดค่ากำลังสายตาสั้น หรือสายตาเอียง ที่วัดได้จริงเพื่อให้เข้ากับสต๊อกเลนส์ที่มีอยู่ในร้าน หรือปัดองศาของสายตาเอียงเข้าแกนหลัก ที่น่ากลัวไปกว่านั้นคือ สายตาที่วัดได้ก็ยังไม่มั่นใจเลยว่าเป็นค่าสายตาที่ถูกหรือไม่ถูก แล้วไปปัดเข้าสต๊อกร้านแล้วนั่งรอ 30 นาที ได้แว่นใส่กลับบ้านนี่เป็นเรื่องที่ผมได้ยาก เพราะคนไข้จะต้องอยู่กับแว่นตาที่อาจไม่ได้แก้ให้ถูกต้องนั้นไปอีกหลายเดือนหรือหลายปี หรือทั้งชีวิตอาจจะไม่เคยได้รู้จักสายตาที่แท้จริงของตัวเองก็เป็นได้
ซึ่งในการไล่ค่าสายตา โดยเฉพาะกับสายตาเอียงนั้น ใช้ handheld jackson cross cylinder ก็สามารถ fine tuning สเตปละเอียด 0.12 Dบน trial frame ได้ไม่ยาก เพียงแต่หา best sphere ให้เจอก่อน แล้วค่อยๆใช้ JCC ไล่แบบในเย็นๆ เดี๋ยวก็เจอทั้งหมด
ในส่วนปัญหากล้ามเนื้อตานั้น ไม่พบความผิดปกติอะไร เป็น Orthophoria มองไกล และมี exophoria มองใกล้เล็กน้อย ในขณะเดียวกันก็มีกำลัง BO-reserve ที่สูงมาก จึงไม่มีอะไรที่น่าน่าห่วง
ปัญหาของเลนส์ตานั้น พบว่า กำลังเพ่งของเลนส์ตาของน้องนั้น มีความล้าอยู่มาก โดยมีค่า lag of accommodation สูงถึง +1.00D ซึ่งได้จากการทำ BCC ซึ่งแสดงถึงความ weak ของเลนส์แก้วตา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความเมื่อยล้าเมื่อต้องอ่านหนังสือต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ การแก้ไขที่ง่ายที่สุดนั้น ก็คงจะเป็นการใช้เลนส์ที่ช่วยให้มองไกลชัดและลดกำลังเพ่งขณะดูใกล้ ซึ่ง best solution สำหรับเคสนี้ก็คือ เลนส์โปรเกรสซีฟลดอาการล้าสำหรับเด็ก อย่าง plus technology ของโรเด้นสต๊อก ซึ่งในเคสนี้ผมใช้ addition 0.8D
แต่ในการจ่ายโปรเกรสซีฟในเด็ก เพื่อแก้ปัญหากำลังเพ่งดูใกล้ต่ำนั้น จะต้องพิจารณาว่า การที่เราลดการเพ่งของ accommodation จะไปทำให้เกิดปัญหาตาเหล่ออกซ่อนเร้นหรือไม่ ซึ่งตัวแปรที่เราต้องพิจารณาคือค่า AC/A ratio
AC/A ratio : 1:1 นั้นหมายความว่า เมื่อผมไปเปลี่ยนแปลงกำลังเพ่งไป 1.00D นั้น ทำให้ phoria เปลี่ยนไปเพียง 1 prism diopter เท่านั้น พูดอีกนัยก็คือว่า การที่เราไปลด accommodation ด้วยการจ่ายโปรเกรสซีฟให้น้องนั้น ไม่ได้ไปทำให้คนไข้เป็น exophoria มากขึ้น หรือจ่าย add ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะไปกระทบการทำงานของกล้ามเนื้อตา
หลักๆก็จบเท่านี้
เคสนี้ไม่ยาก เห็นว่าแว่นสวยเรียบง่ายดีเลยเอามาให้ชม แต่บนความเรียบง่ายนั้น มีความซับซ้อนของเรื่องราวอยู่มาก ทั้งกว่า R&D Rodenstock จะคิดค้นเลนส์ดีๆออกมาได้ ทั้ง LINDBERG ที่พยายามทำแว่นที่ดีและเบาที่สุด และผมที่ตั้งใจรีดปัญหาออกมาให้ได้ถูกต้องแม่นยำที่สุด และน้องก็ให้ความร่วมมือในการวัดสายตาและมีสมาธิในการตรวจตาเป็นอย่างดี ทำให้แว่นที่ได้มาสุดท้ายนั้น ดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นแว่นดีๆ นั้นเป็นความร่วมมือของ ทั้งทีมพัฒนาเลนส์ ทีมพัฒนากรอบแว่น ผู้ตรวจ และคนไข้ รวมไปถึงความมาตรฐานของเครื่องมือและห้องตรวจ ต้องพร้อม จึงจะได้แว่นที่ดีได้จริงๆ ซึ่งไม่ใช่เป็นอะไรที่ไปหยิบลองสวมเล่นๆ อันไหนชัดก็จ่ายตังค์ เพราะผมเน้นตั้งแต่ตอนต้นว่า ชัดไม่ได้แปลว่าค่าสายตานั้นมันใช่
Product Review
Lens ; Rodenstock Impression Mono Plus 2 ด้วยเทคโนโลยีที่สุดในโลกขณะนี้ ทำเลนส์ single vision ได้ดีที่สุดเท่านี้ รู้จักเลนส์รุ่นนี้เพิ่มเติมได้ที่ลิ้ง http://loftoptometry.com/Impression Mono Plus2
578 ซ.วัชรพล ท่าแร้ง บางเขน กทม.10220
T.090-553-6554
idline : loftoptometry